ประกันของเรา
บทความ
เกี่ยวกับ gettgo

ทะเบียนรถหาย ทำยังไงดี ? รวมขั้นตอนขอใหม่และเอกสารที่ต้องใช้

ทะเบียนรถเป็นเสมือนบัตรประจำตัวของรถยนต์ การที่ป้ายทะเบียนรถหลุดหายไปจึงเป็นเรื่องที่สร้างความเดือดร้อนให้แก่เจ้าของรถไม่น้อย เพราะนอกจากจะเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 11 ซึ่งกำหนดให้รถที่จดทะเบียนแล้วต้องแสดงแผ่นป้ายและเครื่องหมายอย่างครบถ้วน เจ้าของรถยนต์ยังอาจต้องเสียทั้งเงินและเวลาไปดำเนินการขอป้ายใหม่อีกด้วย

ในบทความนี้เราจึงขอพามาเจาะลึกขั้นตอนการขอทำทะเบียนรถใหม่อย่างละเอียด พร้อมทั้งแนะนำเอกสารสำคัญที่จำเป็นต้องใช้ เพื่อให้คุณดำเนินการได้สะดวกและรวดเร็วมากที่สุด

แผ่นป้ายทะเบียนรถที่ตัวเลขหายไป

เมื่อทะเบียนรถหลุดหาย ควรทำอย่างไร ?

ตรวจสอบสถานการณ์

เมื่อพบว่าป้ายทะเบียนรถหลุดหาย ลำดับแรกควรตรวจสอบสาเหตุ เช่น น้ำท่วม ฝนตกหนัก หรืออุบัติเหตุ เพื่อเตรียมพร้อมและจัดการปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ไม่จำเป็นต้องแจ้งความ

หลังประเมินสถานการณ์แล้ว เจ้าของรถสามารถติดต่อสำนักงานขนส่งเพื่อขอรับป้ายทะเบียนใหม่ได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งความ อย่างไรก็ตาม ควรรีบดำเนินการโดยเร็วที่สุดเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง

ขั้นตอนการขอป้ายทะเบียนใหม่

เมื่อทราบว่าแผ่นป้ายทะเบียนหาย ขั้นตอนต่อไปคือการขอป้ายใหม่ ซึ่งทำได้ดังนี้

1. ติดต่อสำนักงานขนส่ง

เดินทางไปยังสำนักงานขนส่งในพื้นที่ที่รถลงทะเบียนไว้ ตัวอย่างเช่น หากยานพาหนะจดทะเบียนในกรุงเทพมหานคร ให้ติดต่อสำนักงานในเขตกรุงเทพฯ หรือจังหวัดที่เกี่ยวข้อง

2. ยื่นคำขอและเอกสาร

จัดเตรียมเอกสารที่จำเป็นให้ครบถ้วน แล้วยื่นคำขอรับป้ายทะเบียนใหม่ต่อเจ้าหน้าที่สำนักงานขนส่ง

3. ชำระค่าธรรมเนียม

จ่ายค่าธรรมเนียมสำหรับการขอป้ายใหม่ ซึ่งประกอบด้วยค่าแผ่นป้ายและค่าคำขอ

4. รอรับป้ายทะเบียนใหม่

ระยะเวลารอรับป้ายใหม่แตกต่างกันตามพื้นที่ โดยในกรุงเทพฯ ใช้เวลาประมาณ 5 วันทำการ ส่วนต่างจังหวัดอาจใช้เวลาราว 10 วันทำการ

เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับขอป้ายทะเบียนใหม่

การเตรียมเอกสารให้พร้อมจะช่วยให้กระบวนการขอป้ายใหม่เป็นไปอย่างราบรื่นและรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามประเภทของเจ้าของรถ ดังนี้

สำหรับบุคคลทั่วไป

  • ใบคู่มือจดทะเบียนรถฉบับจริง
  • บัตรประชาชนฉบับจริงของเจ้าของรถ

กรณีมอบอำนาจ

  • หนังสือมอบอำนาจที่ลงลายมือชื่อ
  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจ
  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ

สำหรับนิติบุคคล

  • ใบคู่มือจดทะเบียนรถฉบับจริง
  • หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลไม่เกิน 1 ปี
  • หนังสือมอบอำนาจ
  • สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนามทุกคน
  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ

สำหรับรถที่ติดไฟแนนซ์

  • ใบคู่มือจดทะเบียนรถฉบับจริง
  • หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลของไฟแนนซ์ที่ออกให้ไม่เกิน 1 ปี
  • สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจทุกคน
  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้เช่าซื้อ
  • หนังสือมอบอำนาจจากไฟแนนซ์
  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ

ขอป้ายทะเบียนใหม่ กี่วันได้ ?

ค่าธรรมเนียมและระยะเวลารอรับป้ายใหม่ มีรายละเอียดดังนี้

ค่าธรรมเนียม

  • ค่าแผ่นป้าย 100 บาท
  • ค่าคำขอ 5 บาท
  • รวมทั้งสิ้น 105 บาท

ระยะเวลารอรับป้ายใหม่

  • ในกรุงเทพมหานคร : ใช้เวลา 5 วันทำการ
  • ต่างจังหวัด : ใช้เวลา 10 วันทำการ

ข้อควรระวัง

ในระหว่างที่รอป้ายทะเบียนใหม่ มีข้อควรระวังที่เจ้าของรถควรทราบเพื่อป้องกันปัญหาต่าง ๆ ดังนี้

ห้ามทำแผ่นป้ายขึ้นเอง

เจ้าของรถต้องไม่ทำแผ่นป้ายทะเบียนขึ้นเอง เนื่องจากการทำแผ่นป้ายที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายอาจถูกปรับสูงสุดถึง 2,000 บาท

ใช้ใบเสร็จรับเงินเป็นป้ายชั่วคราว

ในระหว่างที่รอรับป้ายใหม่ สามารถใช้ใบเสร็จรับเงินที่ออกโดยสำนักงานขนส่งแทนป้ายทะเบียนชั่วคราวได้

แผ่นป้ายทะเบียนรถหลุดหาย

คุ้มครองรถของคุณในทุกสถานการณ์ ด้วยประกันภัยรถยนต์รายเดือนจาก gettgo

เมื่อแผ่นป้ายทะเบียนรถหลุดหาย สิ่งแรกที่ควรทำคือรีบดำเนินการขอป้ายใหม่โดยเร็ว ทั้งนี้เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง อย่างไรก็ตาม การเตรียมตัวและทำความเข้าใจขั้นตอนล่วงหน้าจะช่วยให้กระบวนการขอป้ายทะเบียนใหม่เป็นไปอย่างราบรื่นและรวดเร็วยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ ในขณะที่รอป้ายใหม่ อย่าลืมดูแลความปลอดภัยและป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับรถด้วย การทำประกันรถยนต์รายเดือนกับ gettgo ซึ่งให้ความคุ้มครองครอบคลุมทั้งอุบัติเหตุ โจรกรรม และอัคคีภัย นอกจากนี้ เรายังเสนอเงื่อนไขพิเศษโดยไม่มีค่าเสียหายส่วนแรก จึงช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นได้อย่างมาก ที่สำคัญไปกว่านั้น เบี้ยประกันยังยืดหยุ่นสูง โดยเริ่มต้นเพียงหลักร้อยบาทต่อเดือนเท่านั้น

อย่าปล่อยให้ความเสี่ยงส่งผลกระทบต่อการขับขี่ ! ตรวจสอบเบี้ยประกันได้ทันทีผ่านเว็บไซต์ หรือหากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญของเรา โทร. 02-111-7800 หรือทาง LINE OA : @gettgo

 

ข้อมูลอ้างอิง

  1. เจ้าของรถต้องรู้! แผ่นป้ายทะเบียนหาย ขอใหม่ได้ ไม่ต้องแจ้งความ. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2567. จาก https://www.thaipbs.or.th/news/content/340989
  2. พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.๒๕๒๒. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2567. จาก https://www.bmta.co.th/sites/default/files/files/about-us/statute10.pdf

บทความที่คุณอาจสนใจ

ทำไมรถยนต์ไม่ควรมีติดไว้แค่ พ.ร.บ.
สิ่งที่ต้องทำเมื่อเล่มทะเบียนรถหาย บอกครบที่นี่ !
ทำไมแผ่นกรองอากาศรถยนต์ถึงสำคัญ และควรเปลี่ยนเมื่อไร
ความคุ้มครอง ประกันชั้น 1 ประกันชั้น 2+ ประกันชั้น 2 คุ้มครองเฉพาะคู่กรณี ประกันชั้น 3+ ประกันชั้น 3 คุ้มครองเฉพาะคู่กรณี
รถชน(ไม่มีคู่กรณี)
รถชน(มีคู่กรณี)
ค่ารักษาพยาบาล
รถยนต์สูญหาย
ไฟไหม้
น้ำท่วม

เข้าสู่ระบบ

หากยังไม่มีบัญชีผู้ใช้ กรุณา สมัครสมาชิก

 

สมัครสมาชิก

หากเป็นสมาชิกอยู่แล้วกรุณา ลงชื่อเข้าใช้งาน

Loading..

กำลังดำเนินการ กรุณารอสักครู่ค่ะ 😊

ความยินยอมของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

    ข้าพเจ้ายินยอมให้บริษัท เมืองไทย โบรกเกอร์ จำกัด  (“บริษัท”)
เก็บรวบรวมใช้และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของข้าพเจ้าเพื่อการนำเสนอโปรโมชั่น สิทธิพิเศษ ข่าวสาร ผลิตภัณฑ์ บริการ จากบริษัท รวมถึงการพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการ การวิเคราะห์ วิจัย ทำสถิติจากบริษัท และ/หรือบริษัทในเครือและพันธมิตรทางธุรกิจ และเพื่อโอกาสที่ข้าพเจ้าจะได้รับข้อเสนอ บริการพิเศษ โปรโมชั่น หรือผลิตภัณฑ์ที่คัดสรรมาอย่างเหมาะสมจากบริษัทในเครือและพันธมิตรทางธุรกิจ ข้าพเจ้ายินยอมให้เปิดเผยข้อมูลของข้าพเจ้าให้แก่บริษัทดังกล่าว เพื่อวิเคราะห์ตลอดจนการนำเสนอ ผลิตภัณฑ์และบริการ 

การจัดการข้อมูลส่วนบุคคล 

    ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง
    บริษัทจะดำเนินการอย่างดีที่สุดในการรักษาความลับและดูแลข้อมูลส่วนบุคคลของคุณให้ปลอดภัย คุณสามารถเลือกให้หรือไม่ให้ความยินยอมโดยไม่มีผลต่อการพิจารณาผลิตภัณฑ์หรือบริการ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เว็บไซต์ https://gettgo.com/privacy-policy
ทั้งนี้คุณสามารถเปลี่ยนแปลงการให้ความยินยอมได้ โดยติดต่อเราที่ email : dpo-office@mtb.co.th หรือโทร 02-693-2775 (DPO)
     การที่คุณยอมรับตามด้านล่างนี้ถือว่าคุณได้ให้ความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้
และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของคุณตามที่ได้กำหนดไว้ข้างต้น