อายุรถยนต์เท่านี้ ทำประกันภัยรถยนต์แบบไหนดี ถึงจะเหมาะสมที่สุด?
อย่างที่รู้กันว่า รถยนต์ กับ ประกันภัยรถยนต์ เป็นของคู่กัน เหมือนมือถือกับที่ชาร์จแบต หากขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไป ก็คงใช้งานไม่ได้ และแม้รถยนต์จะสามารถขับได้ปกติ โดยไม่ต้องมีประกันภัยรถยนต์ก็ได้ แต่ว่าหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา ใครจะรับผิดชอบ เนื่องจากการเกิดอุบัติเหตุแต่ละครั้ง มักมีค่าเสียหายมหาศาลเสมอ อย่างเล็กๆ น้อยๆ ก็น่าจะเฉียดหลักหมื่น จะดีกว่าไหม ถ้ารถยนต์ของคุณ มีประกันภัยรถยนต์ตลอดแบบไม่เคยขาด เพื่อดูแลรถยนต์ให้ครอบคลุมมากขึ้น ไม่ว่าจะเกิดเรื่องราวไม่คาประกันภัยรถยนต์ที่ทำอยู่เหมาะสมแล้วหรือยัง หรือถ้าหากคิดว่ารถเก่ามากแล้วไม่ต้องทำประกันภัยก็ได้ ไม่มีเจ้าไหนรับทำแน่ๆ แบบนี้ใช่หรือเปล่า มาค้นหาคำตอบ เพื่อหาแผนประกันภัยรถยนต์ที่ตรงใจและเหมาะกับรถยนต์กันดีกว่า ดฝันเมื่อใด ก็ยังอุ่นใจอยู่ดี ว่าแต่รถยนต์ของคุณมีอายุเท่าไหร่
ประกันภัยรถยนต์ที่เหมาะสมกับอ ายุรถยนต์
1. ประกันภัยรถยนต์สำหรับรถใหม่ป้ายแดง อายุไม่ถึง 2 ปี
สำหรับรถยนต์ที่เพิ่งถอยออกมาจากโชว์รูมได้ไม่ถึงปี หายห่วงเรื่องประกัน เพราะปีแรก รถยนต์ใหม่จะมีประกันภัยชั้น 1 ติดมาด้วยเสมอ หากซื้อด้วยการกู้สินเชื่อจากธนาคาร (ไฟแนนซ์รถยนต์) แต่พอในปีถัดมาก็จะสามารถเลือกประเภทประกันภัยรถยนต์ได้เอง ซึ่งสำหรับมือใหม่หัดขับ แนะนำให้ทำประกันภัยชั้น 1 ต่อ อีกสักปี เพราะน่าจะยังไม่คุ้นชินกับรถมากนัก อาจเกิดขับชนอะไรเล็กๆ น้อยๆ ได้ หรือไม่ก็ลองเช็กประวัติและพฤติกรรมการขับรถของตนเองดูว่า เคยชน เคยเกิดอุบัติเหตุเล็กใหญ่บ่อยไหม เคยเคลมหรือเปล่า เนื่องจากค่าเบี้ยประกันจะมีการปรับเปลี่ยนตามนั่นเอง แต่ถ้ามั่นใจว่ารถยนต์คันนี้ไม่ค่อยได้เอาออกมาขับเลย อาทิตย์หนึ่งจะใช้ไม่กี่ครั้ง แถมไม่เคยมีประวัติชนมาก่อนเลย แนะนำให้ลองดูประกันภัยรถยนต์ชั้น 2+ เพราะได้รับความคุ้มครองไม่ต่างจากประกันภัยชั้น 1 มากนัก โดยข้อแตกต่างมีเพียงไม่คุ้มครองความเสียหายหากเกิดอุบัติเหตุแบบไม่มีคู่กรณี ฉะนั้นการชนเสา ชนรั้วบ้าน ชนฟุตปาธ ไม่รับเคลม ทำให้ประกันภัยชั้น 2+ มีค่าเบี้ยประกันที่ถูกกว่าประกันภัยชั้น 1 เป็นไหนๆ เริ่มต้นหลักพันเท่านั้น
2. ประกันภัยรถยนต์สำหรับคนที่ขับรถมาได้สักพัก อายุรถยนต์ประมาณ 3 - 5 ปี
ระยะเวลา 3-5 ปี น่าจะสั่งสมประสบกาณ์ในการขับรถมากพอสมควร มากกว่านั้นอายุรถก็เริ่มเยอะขึ้นเรื่อยๆ ไม่ใช่รถใหม่ป้ายแดงเหมือนแต่ก่อน แต่ถ้าหากเป็นรถยนต์คันโปรดใช้ตลอด ขับทุกวัน และชอบออกต่างจังหวัดบ่อยๆ ยังแนะนำให้ทำประกันภัยชั้น 1 อยู่ดี เนื่องด้วยประกันภัยชั้นนี้คุ้มครองได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเกิดเหตุแบบไหนก็ตาม แต่ถ้าไม่ค่อยได้ใช้รถยนต์เลย จอดอยู่บ้านให้ฝุ่นจับซะมากกว่า มากกว่านั้น บ้านยังไม่มีรั้วรอบขอบชิดมากนัก ถึงรถจะไม่ใหม่ แต่ก็ยังเป็นที่ต้องตาต้องใจของโจรอยู่ดี ทำให้ประกันภัยชั้น 2+ เหมาะสมกับคนที่เชี่ยวชาญในการขับรถและไม่ค่อยได้เอารถออกไปขับมากนัก แต่ยังห่วงรถอยู่ดี กลัวรถหาย ทำประกันภัยชั้นนี้ ตอบโจทย์อย่างมาก เนื่องจากคุ้มครองรถหาย ไฟไหม้นั่นเอง
3. ประกันภัยรถยนต์สำหรับรถยนต์อายุเกิน 5 - 7 ปี
ช่วงอายุรถเท่านี้ ส่วนมากน่าจะผ่อนหมดเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ปีที่ 5 ยกเว้นเลือกแบบผ่อนนานๆ ถึง 7 ปี อายุุรถยนต์ประมาณนี้ เรียกว่าไม่เก่าเท่าไหร่ ยังใช้งานได้ดีอยู่ และสามารถนำไปขายเป็นรถมือสองได้อีกด้วย การเลือกทำประกันภัยจึงไม่ค่อยเหมาะกับประกันภัยชั้น 1 มากนัก แต่ถ้าไม่ติดเรื่องค่าเบี้ยประกัน ประกันภัยชั้น 1 ยังตอบโจทย์สำหรับรถทุกอายุอยู่ดี ถึงแม้จะมีอายุ 7 ปี บางบริษัทก็ยังมีแผนประกันสำหรับรถอายุเท่านี้อยู่ แต่หากรู้สึกว่าประกันภัยชั้น 1 ไม่จำเป็นเลย และมีความคิดอยากจะนำรถไปขายเป็นรถมือสอง อย่างที่กล่าวไปข้างต้น แนะนำให้ทำประกันภัยชั้น 2+ ไว้ดีกว่า เนื่องจากคุ้มครองได้พอๆ กับชั้น 1 มีข้อดีที่ค่าเบี้ยที่ถูกกว่ามาก รถอายุเท่านี้แถมมีประกันภัยติดตัว เรียกว่าเป็นคนที่ดูแลรถได้ดี
4. ประกันภับรถยนต์สำหรับรถอายุ 7 ปี ขึ้นไป
เข้าข่ายรถยนต์ที่มีอายุ เรียกว่ารถเก่าวินเทจ หากยังขับได้แถมมีสภาพเครื่องที่ดีอยู่ การเลือกทำประกันภัยรถยนต์สำหรับรถยนต์อายุเท่านี้ แนะนำเป็นประกันภัยชั้น 3 หรือ 3+ แล้วแต่สะดวก โดยเลือกจากพฤติกรรม และความสามารถทางการเงินในการดูแลรถ หากเลือกประกันภัยชั้น 3 อย่างที่รู้กันว่าประกันภัยชั้นนี้จะคุ้มครองน้อยที่สุด โดยจะคุ้มครองเฉพาะความเสียหายของคู่กรณีเท่านั้น แต่สำหรับประกันภัยชั้น 3+ ก็จะมีความพิเศษมากกว่า 3 ตรงที่มีความคุ้มครองมากกว่า โดยคุ้มครองไปถึงการชนแบบมีคู่กรณี ไม่ว่าเราจะถูกหรือผิดก็ตาม ประกันจะชดเชยค่าเสียหายให้ ทำให้รู้สึกเบาใจมากกว่า การขับรถที่ไม่มีประกันรถยนต์ติดตัวเลย
สะดวกยิ่งขึ้น สำหรับคนที่อยากเช็กเบี้ยประกันรถยนต์ทันที อยากรู้ว่ารถยนต์รุ่นนี้ ปีนี้ของเราจะมีบริษัทประกันไหนรับคุ้มครองบ้าง และแผนประกันที่เหมาะgettgo.com สม พร้อมค่าเบี้ยนั้นคือแผนไหน กดเลือกเปรียบเทียบและซื้อประกันภัยรถยนต์ได้ที่นี่