ฤดูกาลแห่งการเสียภาษีเงินได้ส่วนบุคคลเวียนกลับมาอีกครั้งแล้วนะครับ มนุษย์เงินเดือนรวมถึงผู้มีรายได้ทุกคนคงกำลังหัวหมุน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสรุปเงินได้ตลอดปีหรือเรื่องการลดหย่อนภาษี เพราะในปี 2019 นี้เรามีตัวช่วยลดหย่อนภาษีเพิ่มขึ้นหลายตัวเลยล่ะครับ เพราะฉะนั้นมาอัพเดทกันหน่อยดีกว่าว่าตัวช่วยลดหย่อนภาษีที่เราใช้ได้มีอะไรบ้าง เพื่อให้เราประหยัดภาษีมากที่สุด
การลดหย่อนภาษี เป็นสิทธิประโยชน์ที่กฎหมายกำหนดขึ้นมาให้เป็นตัวช่วยที่ทำให้เราจ่ายภาษีในอัตราที่น้อยลง ซึ่งเราจะได้รับสิทธิประโยชน์นี้ก็ต่อเมื่อเรามีการใช้เงินตามเงื่อนไขที่กำหนด (นอกเหนือจากการหักภาษี ณ ที่จ่ายเมื่อรับเงินเดือนหรือค่าจ้างนะครับ) โดยการลดหย่อนภาษีโดยใช้หลักเกณฑ์ต่าง ๆ ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคนโดยไม่เกี่ยวกับฐานเงินเดือน ขอแค่เรามีพฤติกรรมการใช้เงินเข้าหลักเกณฑ์ก็สามารถนำมาเป็นตัวช่วยลดหย่อนภาษีได้แล้วครับแล้วเราต้องเสียภาษีเท่าไรล่ะ?
ภาษี = ( รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อนภาษี) x อัตราการเสียภาษี
โดยอัตราการเสียภาษีของแต่ละคนจะขึ้นอยู่กับรายได้รวมสุทธิที่หาได้ต่อปี ดังนี้
อัตราเงินได้ภาษีบุคคลธรรมดา
รายได้สุทธิต่อปี |
อัตราภาษี |
0 - 150,000 บาท |
ได้รับการยกเว้นการเสียภาษี |
150,001 - 300,000 บาท |
5% |
300,001 - 500,000 บาท |
10% |
500,001 - 750,000 บาท |
15% |
750,001 - 1,000,000 บาท |
20% |
1,000,001 - 2,000,000 บาท |
25% |
2,000,001 – 5,000,000 บาท |
30% |
5,000,001 บาท ขึ้นไป |
35% |
จะเห็นว่าถ้ารายได้รวมของเราไม่เกิน 150,000 บาทต่อปีก็ไม่จำเป็นต้องเสียภาษีเพราะทางรัฐเขายกเว้นให้ แต่ถ้ารายได้รวมในแต่ละปีของเราอยู่ที่อัตรา 150,001 บาทขึ้นไปแล้วล่ะก็ เท่ากับว่าเราต้องเสียภาษี 5% ตามตารางนั่นเอง แล้วแบบนี้คนที่มีเงินได้เยอะ ๆ ก็ยิ่งเสียภาษีเยอะสิ? ใช่แล้วครับ ยิ่งเงินรายรับมากเท่าไรก็ยิ่งเสียภาษีเยอะขึ้น เพราะเหตุนี้เราถึงมีตัวช่วยหลาย ๆ อย่างมาช่วยลดหย่อนภาษีนั่นเอง
ตัวช่วยลดหย่อนภาษี อัพเดทล่าสุด 2019
1. ลดหย่อนภาษีจากกลุ่มเกี่ยวกับบุคคล
• ลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
• ลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท
• ลดหย่อนบุตรคนที่ 1 คนละ 30,000 บาท
• ลดหย่อนบุตรคนที่ 2 คนละ 60,000 บาท
• ลดหย่อนค่าเลี้ยงดูบิดามารดา 30,000 บาท
• ลดหย่อนค่าเลี้ยงดูคนพิการ คนละ 60,000 บาท
• ลดหย่อนค่าคลอดบุตร 60,000 บาท
2. ลดหย่อนภาษีจากกลุ่มการลงทุน
• กองทุนรวม RMF
• กองทุนรวมหุ้นระยะยาว LTF ลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้แต่ไม่เกิน 500,000 บาท (ปี 2562 นี้ซื้อได้เป็นปีสุดท้าย)
• กองทุนการออมแห่งชาติ ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 13,200 บาท
• สมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้
โดยทั้งหมดรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท รวมถึงประกันชีวิตแบบบำนาญด้วย
3. ลดหย่อนภาษีจากกลุ่มการกระตุ้นเศรษฐกิจ
• ท่องเที่ยวเมืองหลัก ไม่เกิน 15,000 บาท
• ท่องเที่ยวเมืองรอง ไม่เกิน 15,000 บาท **โดยเงินลดหย่อนจากการท่องเที่ยวเมืองหลักและเมืองรองรวมกันแล้วลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 20,000 บาท
• ลงทุนธุรกิจ Startup ไม่เกิน 100,000 บาท
• ช้อปช่วยชาติ ไม่เกิน 15,000 บาท
• ช้อปสินค้า OTOP ไม่เกิน 15,000 บาท
• ช้อปอุปกรณ์กีฬาหรืออุปกรณ์การศึกษา ไม่เกิน 15,000 บาท
• ค่าธรรมเนียมจากการรับชำระเงินด้วยบัตรเดบิต ตามที่จ่ายจริง
4. ลดหย่อนภาษีจากกลุ่มการบริจาค
• เงินบริจาคทั่วไป ลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริง
• บริจาคพรรคการเมือง ลดหย่อนสูงสุดได้ 10,000 บาท
• เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม กองทุนยุติธรรม โรงพยาบาลรัฐ ลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาค
5. ลดหย่อนภาษีจากกลุ่มเบี้ยประกัน
• ประกันสังคม ลดหย่อนได้ 9,000 บาท
• เบี้ยประกันสุขภาพของบิดามารดา ลดหย่อนรวมกันไม่เกิน 15,000 บาท
• เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนได้ 200,000 บาท
• เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป เงินฝากแบบมีประกัน ประกันเงินออมทรัพย์ ประกันสุขภาพ ลดหย่อนรวมกันไม่เกิน 100,000 บาท
และนี่ก็คือตัวช่วยลดหย่อนภาษี ที่ gettgo สรุปแบบเข้าใจง่ายให้คุณเห็นภาพได้ทุกกลุ่มประเภท ใครมองแล้วว่าเราเข้าเงื่อนไขหลักเกณฑ์ไหน ก็อย่าลืมนำข้อมูลลดหย่อนภาษีไปกรอกในเว็บไซต์ของกรมสรรพากรเมื่อต้องยื่นภาษีผ่านช่องทางออนไลน์กันด้วยนะครับ รับรองว่าช่วยประหยัดภาษีได้เยอะแถมอาจได้รับเงินคืนถ้าลดหย่อนแล้วพบว่าเราจ่ายภาษีเกินไปแล้วด้วย