ประกันของเรา
บทความ
เกี่ยวกับ gettgo

WORK ไร้ BALANCE เช็คโรคยอดฮิตฉบับ #คนสู้งาน2020

ออฟฟิศซินโดรม

 

Work Life Balance ยังไม่ไหว ตอนนี้ทำได้แต่ WORK ไร้ BALANCE

 

 

เครื่องจักรยังมีวันพัง นับประสาอะไรกับร่างกายคน ปากบอกรักงานจังเลยแต่ร่างกายข้างในอาจร้องไห้อยู่ก็ได้นะ มนุษย์เงินเดือนอย่างใครหลาย ๆ คน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเงินคือปัจจัยหลักที่สำคัญในการมีชีวิตอยู่ จนทำให้เรามองข้ามสัญญาณเตือนภัยของร่างกาย 

ในปี 2562 ที่ผ่านมา ข้อมูลเชิงสถิติโรงพยาบาลสมิติเวชเปิดเผยว่า 80% ของคนไทยในตลาดแรงงานเข้าข่าย “ภาวะออฟฟิศซินโดรม” หรือคิดเป็น 4 ใน 5 ของคนทำงานในตลาดแรงงานไทย ภัยเงียบที่พ่วงไปด้วยโรคต่าง ๆ อีกมากมาย

 

 

ประกันออฟฟิศซินโดรม

 

 

ทำงาน ไม่ได้ทำสงคราม

‘สู้งานจนตัวตาย’ อาจไม่ใช่คำตอบในยุคสมัยนี้ นำไปสู่โรคภัยต่าง ๆ ไม่น้อยเลยทีเดียว หนึ่งในโรคสุดฮิตของชาวออฟฟิศใส่สูทผูกไทด์ หรือไม่ว่าจะสไตล์ไหน ๆ เจ้า ‘ออฟฟิศซินโดรม’ ก็ไม่ปราณีคุณแน่นอน การจัดสรรเวลาที่ดีต่างหากคือกุญแจสำคัญ ห่างไกลโรค สบายใจหายห่วง

 

ปวดคอ

 

วันนี้ gettgo ในฐานะเพื่อนของคนรุ่นใหม่ที่พร้อมเข้าใจคุณ ถึงแม้ว่า “การทำงานหนัก” จะเลี่ยงไม่ได้ ยิ่งต้องเอาตัวรอดจากปี 2020 แบบสวย ๆ ไปได้ด้วยแล้ว การเกาะขาเก้าอี้ตัวเองแน่นไว้ ๆ แม้ทำงานหนักก็ต้องอดทน

แต่เราเชื่อว่าการป้องกันและตระหนักไว้ซึ่งคลื่นใต้น้ำที่จะตามมาของกลุ่มโรคดังกล่าว สามารถทำได้จริง วันนี้เราเลยอยากชวนคุณมาเช็ค 4 โรคยอดฮิตฉบับคนสู้งาน 2020 ให้เพื่อน ๆ ไว้เช็คตัวเองกันหน่อย เจอเมื่อไหร่ รักษาไว้ก่อน กันไว้ดีกว่าแก้แน่นอน

1. กระเพาะอาหารอักเสบ

โรคกระเพาะอาหาร

 

 

ทุกวันนี้ชีวิตเร่งรีบเกินไป สั่งงานเย็นเอาพรุ่งนี้เช้า สั่งเช้าเอาบ่าย ถวายชีวิตให้กับงานไปซะแล้ว แต่จะทำไงได้ เมื่อเจ้านายขอมาเราก็ต้องจัดให้ นำไปสู่การทำงานหามรุ่งหามค่ำ ข้าวปลาไม่ได้กิน ไหนจะความเครียดที่ตามมาอีก

กระเพาะอาหารน้อย ๆ ของเราจะหลั่งน้ำย่อยที่มีสภาพเป็นกรดออกมามากกว่าปกติ และถ้ายังไม่หาอาหารรองท้องหรือทานข้าวให้ตรงเวลาอีก สิ่งที่จะตามมาคือกระเพาะอาหารอักเสบ และพ่วงไปด้วยอาการอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ปวดท้อง ท้องอืด หนัก ๆ ก็คลื่นไส้อาเจียนเป็นเลือดได้

ทางแก้ฉบับคนสู้งาน

1. พกอาหารไว้กินรองท้องสักหน่อยในเวลาทำงาน อย่าปล่อยให้น้ำย่อยกัดกระเพาะ
2. ลดความเครียด หาอะไรดูเพลินๆสัก 5-10 นาทีก็ได้ หากยิ่งเครียดจะยิ่งกระตุ้นกรดในกระเพาะและน้ำย่อย 
3. ลด ละ เลิก บุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และกาแฟ อันเป็นปัจจัยที่เสี่ยงต่อโรคกระเพาะทั้งสิ้น 

2. นิ้วล็อก

นิ้วล็อก

 

ชาวออฟฟิศคนไหนรับบทนางพิมพ์ พิมพ์เร็วพิมพ์ไวพิมพ์งานแบบตาจะหลุด รีเสิร์ชไม่พัก ภาวะนิ้วล็อกกำลังเขยิบเข้าใกล้คุณมาอีกนิดแล้ว ซึ่งเกิดจากเส้นเอ็นและปลอกเส้นเอ็นของนิ้วมือเรา ที่มีส่วนสำคัญในการทำให้นิ้วของเรางอเข้า-ออก ได้อย่างเป็นปกติเกิดการอักเสบ

อาจเจ็บฝ่ามือแต่ยังขยับนิ้วมือได้ ต่อมาจะเริ่มงอนิ้วยากขึ้น และจะเริ่มค้างและเหยียดนิ้วไม่ออก ไปจนถึงขั้นรุนแรงคือนิ้วมือกำไม่ลง

ทางแก้ฉบับคนสู้งาน

1. พักมือเป็นระยะ ๆ อย่าพิมพ์งานหรือใช้มือถือท่าเดิมนานเกินไป
2. ไม่หิ้วของหนักเกินไป ถ้าจำเป็นให้ใช้ผ้าขนหนูนุ่ม ๆ รองก่อนหิ้วของหนัก

3. ภาวะตาผิดปกติที่เกิดจากการทำงาน

ตาผิดปกติ, ตาพร่า

 

‘มองหน้าจอจนไม่ได้มองหน้าเธอ’ ขำไม่ออกเลยเมื่อชาวออฟฟิศที่ใช้สายตาในการทำงานกว่า 8 ชั่วโมง มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคสายตาของคนทำงานยุคใหม่ “Computer Vision Syndrome (CVS)”

จากข้อมูลจาก รพ. เวิลด์เมดิคอลชี้ว่า หากใครใช้คอมพิวเตอร์เกิน 2 ชม.ต่อวัน อันเกิดจากแสงในที่ทำงานไม่พอ มีแสงสะท้อนจากจอคอม หรือตำแหน่งของจอและท่านั่งไม่เหมาะสม มีอาการตั้งแต่ปวดรอบดวงตา, ตาพร่ามัว, ตาแห้ง ไปจนถึงปวดคอ ปวดไหล่ร่วมด้วย  

ทางแก้ฉบับคนสู้งาน

1. หน้าจอคอมควรอยู่ต่ำกว่าระดับสายตา 15 - 20 องศา 
2. บริเวณกลางหน้าจอควรอยู่ห่างจากใบหน้า 50 - 70 ซม.
3. พักสายตา มองออกไปไกล ๆ ทุก ๆ 20 นาที และหยุดทำงาน 15 นาที ในทุก ๆ 2 ชม. 

4. ติดเ ชื้อทางเดินปัสสาวะ

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

 

อวัยวะสุดท้ายที่เกี่ยวกับคนสู้งาน 2020 แบบสุด ๆ นั่นคือเรื่องของกระเพาะปัสสาวะนั่นเอง โดยเฉพาะเพื่อน ๆ ผู้หญิงหลาย ๆ คนที่หลายครั้งงานเร่ง งานด่วน งานประชุมที่เรียงกันเข้ามาในแต่ละวัน อาจทำให้ไม่อยากเข้าห้องน้ำ ซึ่งการกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน ๆ ทำให้เชื้อโรคในปัสสาวะเจริญเติบโตได้ดี

โดยอาการของโรคก็ทรมานไม่เบาเลยทีเดียว เริ่มจากปัสสาวะกะปริบกะปรอย ไม่สุด ปวดบริเวณท้องน้อย แสบ ขัด และปัสสาวะสีขุ่น และมีกลิ่นผิดปกติอีกด้วย

ทางแก้ฉบับคนสู้งาน

1. ทำงานหนักได้ แต่ต้องอย่าลืมดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว
2. เข้าห้องน้ำเมื่อปวด อย่าอั้ นเป็นเวลานานอาจสายเกินแก้
3. เคลื่อนไหวร่างกายบ้าง อย่านั่งท่าเดิมนาน ๆ 

ถ้าป้องกันทุกทางแล้วยังหนีไม่พ้น 4 โรคนี้ ทำไงดี? 

เราเข้าใจคนสู้งาน บางทีป้องกันแล้วก็ยังอดไม่ได้ที่ต้องเจองานหนักจริง ๆ และอาจเป็นต้นเหตุของโรคเหล่านี้ตามมาจนได้ แต่ชีวิตก็ยังไม่หมดหนทางสู้ ยังมีทางแก้อีกทางคือ “ประกันสุขภาพ” ที่ gettgo ขอแนะนำประกันสุขภาพสำหรับคนสู้งาน 2020 

จ่ายน้อย! เริ่มต้นแค่เดือนละ 4xx กว่าบาท ได้วงเงินหาหมอแบบไม่นอนโรงพยาบาลหรือ OPD รวมกับการนอนโรงพยาบาล IPD กว่า 150,000 บาท ถ้าอยากได้เพิ่ม เบี้ยก็เพิ่มขึ้น แต่ก็ยังจ่ายเบี้ยต่ำกว่าเดือนละพันแน่นอน คุ้มค่า คุ้มราคา เหมาะกับสายฟรีแลนซ์ คนทำงานอิสระทั้งหลายที่ไม่มีประกันกลุ่ม

หรือคนทำงานบริษัทที่มีประกันกลุ่ม แต่วงเงิน OPD น้อยเหลือเกิน เอาเป็นว่าใครที่เข้าข่ายข้างต้น และคิดว่าปีนี้คงต้องฮึดสู้งานกันยาว ๆ ป่วยขึ้นมาอย่างน้อยก็อุ่นใจเรื่องเงินรักษา ของต้องมีจริงๆนะทุกคน


ประกันออฟฟิศซินโดรม

 

H/T:  กระทรวงสาธารณสุข, รพ.สมิติเวช, รพ.ศิริราช, รพ.กรุงเทพ, รพ.เวิลด์เมดิคอล, Honestdocs

บทความที่คุณอาจสนใจ

"ไม่พอก็ต้องเพิ่ม" ทุกค่าใช้จ่ายส่วนเกิน ประกันสุขภาพเพิ่มเติมจ่ายให้
"ชีวิตติดหมอนวด" นวดผ่อนคลายแต่กลายเป็นเส้นพลิก เคลมประกันได้มั้ย ?
ปอดอักเสบเรื้อรังแม้หายจากโควิด อยากทำประกันสุขภาพได้หรือไม่ ?
ความคุ้มครอง ประกันชั้น 1 ประกันชั้น 2+ ประกันชั้น 2 คุ้มครองเฉพาะคู่กรณี ประกันชั้น 3+ ประกันชั้น 3 คุ้มครองเฉพาะคู่กรณี
รถชน(ไม่มีคู่กรณี)
รถชน(มีคู่กรณี)
ค่ารักษาพยาบาล
รถยนต์สูญหาย
ไฟไหม้
น้ำท่วม

เข้าสู่ระบบ

หากยังไม่มีบัญชีผู้ใช้ กรุณา สมัครสมาชิก

 

สมัครสมาชิก

หากเป็นสมาชิกอยู่แล้วกรุณา ลงชื่อเข้าใช้งาน

Loading..

กำลังดำเนินการ กรุณารอสักครู่ค่ะ 😊

ความยินยอมของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

    ข้าพเจ้ายินยอมให้บริษัท เมืองไทย โบรกเกอร์ จำกัด  (“บริษัท”)
เก็บรวบรวมใช้และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของข้าพเจ้าเพื่อการนำเสนอโปรโมชั่น สิทธิพิเศษ ข่าวสาร ผลิตภัณฑ์ บริการ จากบริษัท รวมถึงการพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการ การวิเคราะห์ วิจัย ทำสถิติจากบริษัท และ/หรือบริษัทในเครือและพันธมิตรทางธุรกิจ และเพื่อโอกาสที่ข้าพเจ้าจะได้รับข้อเสนอ บริการพิเศษ โปรโมชั่น หรือผลิตภัณฑ์ที่คัดสรรมาอย่างเหมาะสมจากบริษัทในเครือและพันธมิตรทางธุรกิจ ข้าพเจ้ายินยอมให้เปิดเผยข้อมูลของข้าพเจ้าให้แก่บริษัทดังกล่าว เพื่อวิเคราะห์ตลอดจนการนำเสนอ ผลิตภัณฑ์และบริการ 

การจัดการข้อมูลส่วนบุคคล 

    ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง
    บริษัทจะดำเนินการอย่างดีที่สุดในการรักษาความลับและดูแลข้อมูลส่วนบุคคลของคุณให้ปลอดภัย คุณสามารถเลือกให้หรือไม่ให้ความยินยอมโดยไม่มีผลต่อการพิจารณาผลิตภัณฑ์หรือบริการ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เว็บไซต์ https://gettgo.com/privacy-policy
ทั้งนี้คุณสามารถเปลี่ยนแปลงการให้ความยินยอมได้ โดยติดต่อเราที่ email : dpo-office@mtb.co.th หรือโทร 02-693-2775 (DPO)
     การที่คุณยอมรับตามด้านล่างนี้ถือว่าคุณได้ให้ความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้
และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของคุณตามที่ได้กำหนดไว้ข้างต้น