ประกันของเรา
บทความ
เกี่ยวกับ gettgo

ประกันสุขภาพผู้สูงอายุ เลือกอย่างไรให้คุ้มค่าที่สุด

ประกันสุขภาพผู้สูงอายุ เลือกอย่างไรให้คุ้มค่าที่สุด

ยิ่งอายุมากขึ้น ความเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่าง ๆ ก็ยิ่งมีมากขึ้น โดยเฉพาะวัยสูงอายุ คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเข้า - ออกโรงพยาบาลอยู่บ่อย ๆ ดังนั้นการทำประกันสุขภาพผู้สูงอายุจึงเป็นตัวที่ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายได้มาก เพราะช่วยให้เราอุ่นใจได้ว่าไม่ต้องแบกรับค่ารักษาพยาบาลแพง ๆ คนเดียว ประกันสุขภาพผู้สูงอายุ

มีให้เลือกหลายรูปแบบและหลายบริษัท เราควรวางแผนการซื้ออย่างไร และควรซื้อแบบไหนให้คุ้มค่ามากที่สุด วันนี้ Dr.Gett จะช่วยให้ทุกคนได้คำตอบกัน

ประกันสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ ควรคำนึงถึงอะไรบ้าง ?​

ไม่ว่าจะซื้อประกันสุขภาพให้ผู้สูงอายุที่บ้านหรือซื้อให้ตัวเอง สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการเลือกซื้ออาจแตกต่างกันไปตามปัจจัยของแต่ละคน ดังนั้นเราควรศึกษาตัวเองก่อนว่าต้องการความคุ้มครองประมาณไหน ราคาเบี้ยที่จ่ายไหวอยู่ที่เท่าไร นอกจากนี้อาจต้องดูเรื่องโรคภัยไข้เจ็บประกอบกันด้วย เพราะแต่ละคนมีความเสี่ยงในแต่ละโรคต่างกันไป

ความคุ้มครอง
ก่อนที่จะซื้อประกันสุขภาพผู้สูงอายุ เราควรศึกษากรมธรรม์ให้ดีก่อนว่าเนื้อหาระบุความคุ้มครองอะไรเอาไว้บ้าง เช่น คุ้มครองการเสียชีวิตทุกกรณีหรือไม่ รวมถึงค่ารักษาพยาบาล ค่าห้องรักษาตัวด้วยหรือเปล่า อีกทั้งควรดูว่าคุ้มครองโรคใดบ้าง ครอบคลุมโรคร้ายแรงและโรคอุบัติใหม่หรือไม่ ทั้งนี้ประกันแต่ละแผนอาจคุ้มครองครบทุกอย่างตามนี้ หรือบางแผนอาจคุ้มครองบางส่วน เช่น คุ้มครองเฉพาะกรณีเสียชีวิตเท่านั้น แต่จะไม่รวมถึงค่ารักษาพยาบาล ซึ่งจะส่งผลต่อค่าเบี้ยประกันที่เราต้องจ่ายนั่นเอง หรืออาจจะดูว่าเราสามารถซื้อประกันสุขภาพอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อความคุ้มครองที่ครอบคลุมกว่าได้หรือไม่ เช่น ความคุ้มครองสำหรับ OPD ความคุ้มครองเรื่องค่ารักษาทันตกรรม เป็นต้น

 

ราคาเบี้ย
ปัญหาหนึ่งสำหรับการตัดสินใจซื้อประกันสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุก็คือเบี้ยประกันที่สูงกว่าประกันสุขภาพของวัยหนุ่มสาวอย่างมาก เพราะยิ่งอายุเยอะค่าเบี้ยประกันยิ่งสูงขึ้นตามอายุ แต่ถึงอย่างนั้นบริษัทประกันหลาย ๆ แห่งก็ยังมีตัวเลือกให้จ่ายเบี้ยได้ถูกลง ซึ่งอาจช่วยลดได้ถึง 20-30% เลยทีเดียว เช่น 
- การจ่ายเบี้ยแบบมีความรับผิดส่วนแรก (Deductible) หากบริษัทประกันกำหนดค่ารับผิดส่วนแรกเอาไว้ที่วงเงิน 20,000 บาท หากมีการเคลม เราต้องจ่ายส่วนแรกไปก่อน 20,000 บาท และบริษัทประกันจะจ่ายส่วนที่เหลือให้
- การจ่ายเบี้ยแบบมีส่วนร่วมจ่าย (Co-payment) หมายถึงการกำหนดให้ผู้ถือกรมธรรม์มีส่วนจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามเปอร์เซ็นต์ที่กำหนด เช่น บริษัทประกันกำหนดไว้ที่ 20% ของค่ารักษาพยาบาล หากยอดรวมของค่ารักษาพยาบาลอยู่ที่ 100,000 บาท เท่ากับเราต้องมีส่วนจ่าย 20,000 บาท เป็นต้น


เงื่อนไขเกี่ยวกับโรคที่เป็นมาก่อน
ผู้ที่มีประวัติการเจ็บป่วยมาก่อน หรือมีโรคประจำตัวอาจจะทำประกันสุขภาพได้ยากสักหน่อย เพราะบริษัทประกันมองว่าผู้ที่มีโรคมาก่อนมีแนวโน้มจะเคลมบ่อยและแพงมากกว่าคนสุขภาพดี หรือหากทำได้ก็อาจจะแลกมาด้วยค่าเบี้ยที่สูงขึ้น และมีเงื่อนไขเพิ่มเติม เช่น บริษัทประกัน A รับทำประกันให้กับคุณ B ซึ่งเป็นผู้สูงอายุมีโรคประจำตัว แต่มีเงื่อนไขคือกรมธรรม์จะมีระยะเวลารอคอย 2 ปี หมายความว่าคุณ B จะสามารถเคลมค่าประกันได้หลังจากกรมธรรม์ฉบับนี้อนุมัติไปแล้ว 2 ปี เป็นต้น ซึ่งข้อนี้นับว่าเป็นข้อควรระวังที่ต้องศึกษาให้ดีก่อนตัดสินใจ

อายุที่ยังสมัครได้หรือยังได้รับความคุ้มครอง
อายุที่บริษัทประกันส่วนใหญ่จะรับทำประกันสุขภาพผู้สูงอายุมักอยู่ที่ 60-65 ปี หากเกินกว่านี้ก็อาจจะมีบริษัทที่รับทำอยู่บ้าง แต่ตัวเลือกก็คงมีไม่มากนัก นอกจากนี้แต่ละกรมธรรม์ยังกำหนดระยะเวลาที่คุ้มครองไม่เหมือนกัน ซึ่งส่วนมากอาจกำหนดว่ามีระยะคุ้มครองได้ถึงอายุ 65 ปี หรือบางแห่งอาจมากถึง 99 ปี การรู้ว่าอายุเท่าไหร่ถึงยังสมัครหรือรับความคุ้มครองได้ มีประโยชน์ต่อการวางแผนการเงินในส่วนค่ารักษาพยาบาลในอนาคต

โรงพยาบาลที่เข้ารักษาได้
โรคภัยโดยเฉพาะในผู้สูงอายุสามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่ทันตั้งตัว ดังนั้นควรเลือกประกันสุขภาพที่์ให้เราเข้ารักษาในโรงพยาบาลใกล้บ้านได้ หรือหากสามารถเข้ารักษาได้ในทุกโรงพยาบาลก็ยิ่งดี


ควรทำประกันสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในช่วงอายุเท่าไร

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่ายิ่งทำประกันสุขภาพตอนอายุมากแล้ว นอกจากเบี้ยประกันจะสูงแล้วยังอาจมีเงื่อนไขต่าง ๆ เพิ่มเข้ามา ช่วงอายุที่ควรเริ่มทำประกันสุขภาพผู้สูงอายุคือตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปจนถึง 60 ปี เพราะช่วงนี้ยังเป็นช่วงที่สุขภาพยังพอแข็งแรงอยู่ แต่โรคอื่น ๆ ตามวัยจะเริ่มถามหาแล้ว เช่น โรคความดันโลหิต โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นต้น หากเริ่มทำประกันสุขภาพในช่วงนี้บริษัทประกันยังรับทำประกันสุขภาพได้ง่ายกว่าผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวแล้วหรือมีอายุเกินกว่านี้ นอกจากนั้นในเงื่อนไขของระยะเวลาคุ้มครอง บริษัทหลาย ๆ แห่งมักกำหนดเอาไว้ถึง 65 ปีเท่านั้น ดังนั้นยิ่งรีบทำไว้เท่าไหร่ จะยิ่งได้รับความคุ้มครองที่คุ้มค่ามากกว่า

แต่อย่างที่บอกไปแล้วว่ายังมีบางบริษัทที่รับทำประกันให้กับผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 60 ปี และให้ความคุ้มครองยาวนานกว่า 65 ปี อย่างเช่น ดี เฮลท์ พลัส (D Health Plus) จากเมืองไทยประกันชีวิต ที่สามารถสมัครได้ตั้งแต่อายุน้อย ๆ ไปจนถึง 90 ปี โดยไม่ต้องตรวจสุขภาพ และยังให้ความคุ้มครองยาวนานไปจนถึงอายุ 99 ปีอีกด้วย มีให้เลือกความคุ้มครองจากทุนประกัน 2 แบบด้วยกัน คือ 1 ล้านบาท และ 5 ล้านบาท ซึ่งนอกเหนือจากการให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมทั้งค่ารักษาพยาบาล ค่าห้อง ค่าแพทย์ และอื่น ๆ ยังสามารถสมัครแพ็กเกจเสริมเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองที่ตอบโจทย์มากยิ่งขึ้นได้อีกด้วย


ประกันโรคร้ายแรงจำเป็นหรือไม่ มีแบบไหนบ้าง ?

เมื่ออายุมากขึ้น สิ่งที่ตามมาก็คือโรคภัยไข้เจ็บ แน่นอนว่าอาจทำให้ร่างกายเราไม่แข็งแรงเหมือนแต่ก่อน อีกทั้งยังมีความเสี่ยงเป็นโรคร้ายแรงได้ง่ายกว่าวัยไหน ๆ อย่างเช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคที่เกี่ยวกับระบบประสาท รวมไปจนถึงโรคมะเร็ง โรคร้ายแรงเหล่านี้ล้วนเป็นโรคที่ต้องอาศัยเทคนิคทางการรักษาระดับสูง และต้องพักรักษาตัวนาน หรืออาจเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง จึงตามมาด้วยค่ารักษาพยาบาลที่สูงและอาจพุ่งไปถึงหลักล้าน หากเราเกิดเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงแบบไม่ได้วางแผนมาแต่เนิ่น ๆ แน่นอนว่าเราต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลเองทั้งหมด แต่หากเรามีตัวช่วยอย่างประกันโรคร้ายแรงติดตัวเอาไว้ ก็จะช่วยคลายความกังวลในเรื่องนี้ไปได้ อีกทั้งการเริ่มทำประกันร้ายแรงเอาไว้แต่เนิ่น ๆ ยังช่วยให้เราจ่ายเบี้ยได้ถูกกว่า และยังเป็นการวางแผนการเงินสำหรับอนาคต เพราะอย่างที่บอกไปแล้วว่า หากมีเหตุฉุกเฉินอะไร ประกันโรคร้ายแรงที่ทำเอาไว้จะช่วยเข้ามาแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายได้อย่างมาก


ประกันโรคร้ายแรงก็ยังมีหลายแผนให้เราเลือกซื้อตามความเหมาะสมของตัวเอง มีทั้งที่คุ้มครองโรคร้ายแรงที่พบได้บ่อยคุ้มครอง 40 โรค ไปจนถึงครอบคลุมทั้ง 100 โรค นอกจากนี้ยังมีประกันโรคร้ายแรงสำหรับคุณผู้หญิงหรือคุณผู้ชายโดยเฉพาะ สำหรับผู้สูงอายุก็มีประกันสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุที่คุ้มครองทั้งโรคทั่วไปและโรคร้ายแรงด้วยเหมือนกัน อย่าง ดี เฮลท์ พลัส นอกจากจะคุ้มครองการป่วยด้วยโรคทั่วไปแล้ว ยังรวมถึงโรคระบาด โรคอุบัติใหม่ โรคโควิด-19 และโรคร้ายที่ครอบคลุมทุกระยะ ทั้งระยะเริ่มต้นและระยะลุกลามอีกด้วย

แนะนำอ่านต่อ : มีประกันสุขภาพอยู่แล้ว จำเป็นต้องทำประกันโรคร้ายแรงเพิ่มหรือไม่


ถึงแม้ประกันสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุจะมีขึ้นสำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ เพราะเป็นวัยที่โรคภัยไข้เจ็บเริ่มถามหาและเสี่ยงที่จะต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลบ่อยกว่าวัยหนุ่มสาว แต่เราสามารถทำประกันสุขภาพกันได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยไม่ต้องรอให้ถึงวัยใกล้เกษียณหรือมีโรคประจำตัวเสียก่อน ปัจจุบันนี้มีบริษัทประกันหลายแห่งที่เสนอกรมธรรม์สุขภาพที่ครอบคลุมทุกช่วงวัยให้เราได้อุ่นใจกันไปยาว ๆ 

บทความที่คุณอาจสนใจ

เคลียร์ให้ชัด เคสไหนที่ประกันสุขภาพบอกเลิกสัญญาได้
อยากนอน รพ. ดี ๆ แต่ประกันบริษัทที่มีไม่เคยพอ
ก้อยบอก "ชีวิตวางแผนได้" แล้ว iHealthy 5 แผน ช่วยค่าใช้จ่ายอะไรได้บ้าง ?
ความคุ้มครอง ประกันชั้น 1 ประกันชั้น 2+ ประกันชั้น 2 คุ้มครองเฉพาะคู่กรณี ประกันชั้น 3+ ประกันชั้น 3 คุ้มครองเฉพาะคู่กรณี
รถชน(ไม่มีคู่กรณี)
รถชน(มีคู่กรณี)
ค่ารักษาพยาบาล
รถยนต์สูญหาย
ไฟไหม้
น้ำท่วม

เข้าสู่ระบบ

หากยังไม่มีบัญชีผู้ใช้ กรุณา สมัครสมาชิก

 

สมัครสมาชิก

หากเป็นสมาชิกอยู่แล้วกรุณา ลงชื่อเข้าใช้งาน

Loading..

กำลังดำเนินการ กรุณารอสักครู่ค่ะ 😊

ความยินยอมของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

    ข้าพเจ้ายินยอมให้บริษัท เมืองไทย โบรกเกอร์ จำกัด  (“บริษัท”)
เก็บรวบรวมใช้และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของข้าพเจ้าเพื่อการนำเสนอโปรโมชั่น สิทธิพิเศษ ข่าวสาร ผลิตภัณฑ์ บริการ จากบริษัท รวมถึงการพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการ การวิเคราะห์ วิจัย ทำสถิติจากบริษัท และ/หรือบริษัทในเครือและพันธมิตรทางธุรกิจ และเพื่อโอกาสที่ข้าพเจ้าจะได้รับข้อเสนอ บริการพิเศษ โปรโมชั่น หรือผลิตภัณฑ์ที่คัดสรรมาอย่างเหมาะสมจากบริษัทในเครือและพันธมิตรทางธุรกิจ ข้าพเจ้ายินยอมให้เปิดเผยข้อมูลของข้าพเจ้าให้แก่บริษัทดังกล่าว เพื่อวิเคราะห์ตลอดจนการนำเสนอ ผลิตภัณฑ์และบริการ 

การจัดการข้อมูลส่วนบุคคล 

    ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง
    บริษัทจะดำเนินการอย่างดีที่สุดในการรักษาความลับและดูแลข้อมูลส่วนบุคคลของคุณให้ปลอดภัย คุณสามารถเลือกให้หรือไม่ให้ความยินยอมโดยไม่มีผลต่อการพิจารณาผลิตภัณฑ์หรือบริการ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เว็บไซต์ https://gettgo.com/privacy-policy
ทั้งนี้คุณสามารถเปลี่ยนแปลงการให้ความยินยอมได้ โดยติดต่อเราที่ email : dpo-office@mtb.co.th หรือโทร 02-693-2775 (DPO)
     การที่คุณยอมรับตามด้านล่างนี้ถือว่าคุณได้ให้ความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้
และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของคุณตามที่ได้กำหนดไว้ข้างต้น